โรคเขียวเตี้ย

หมวดหมู่: เทคนิคการใช้

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตัวเล็กนิดเดียว แต่ร้ายกว่าที่คิด

 

โรคเขียวเตี้ย หรือ โรคจู๋

เกิดจาดเชื้อไวรัส ที่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวพาหะ
มักพบมากในนาชลประทาน ภาคกลาง
ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะไม่ออกรวง หรือรวงไม่สมบูรณ์
บางครั้งมักพบโรคนี้เกิดร่วมกับโรคใบหงิก

 

ลักษณะทั่วไปของโรค

สามารถพบได้ทั้งช่วงระยะกล้า ข้าวแตกกอ ข้าวตั้งท้อง
ต้นเตี้ยแคระแกรน เป็นพุ่มแจ้
เชื้อไรวัสนี้มักทำให้ใบข้าวแคบมีสีเหลือง เหลืองอมเขียว ใบมีจุดประสีเหลือง บางครั้งพบแถบสีเขียวเหลืองขนานไปกับเส้นใบ

 

จัดการดี มีชัยไปกว่าครึ่ง!

  • แนะนำให้จัดการต้นข้าวที่อาจมีโอกาสเป็นโรคตั้งแต่เนิ่นๆ
  • กำจัดหรือทำลาย โดยการไถกลบ เผาตอซัง ในนาที่เคยเกิดโรค
  • กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของเมลงพาหะ
  • ใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี1,2,90,พิษณุโลก2,กข41 และกข47

**แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงจะสามารถปรับตัวและทำลายข้าวได้**

 

  

แนะนำใช้ อัลกอ 5 หรือ ฟาร์ซัล 6 จี ใช้ป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หรือกำจัดตัวอ่อน


หากพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดแล้ว แนะนำใช้ บูซิลโกลด์ กำจัดแมลงศัตรูพืช

 

 

ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงผสมกันหลายชนิด หรือใช้ผสมสารกำจัดวัชพืชเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของสารลดลง

หากเกิดการระบาดรุนแรง ควรงดปลูกข้าว 1-2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงพาหะ

 

ขอบคุณข้อมูล : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว

08 มกราคม 2565

ผู้ชม 5699 ครั้ง

ฟาร์มอะโกร มองไกล ใส่ใจคุณภาพ

ดูสินค้าทั้งหมด
Engine by shopup.com